วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3


1.ประวัติส่วนตัว

                ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อายุ 40 ปี เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 4 คน ของ พ.อ. สรรค์ และนางระเบียบ ยุทธวงศ์ ได้รับทุน ก.พ. ไปศึกษาใน สหราชอาณาจักร ระหว่าง พ.ศ. 2505-2512 สำเร็จการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม อันดับหนึ่ง สาขาวิชาเคมี จากมหาวิทยาลัยลอนดอน เมื่อ พ.ศ. 2509 ได้รับปริญญาเอก วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ทางอินทรียเคมี จากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เมื่อ พ.ศ. 2512 แล้วกลับมารับราชการ เป็นอาจารย์เอก ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนสาธารณสุข สหรัฐอเมริกา ไปทำวิจัยหลังปริญญาเอก ด้านพลังงานชีวภาพ และเยื่อเซลล์ ณ มหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย ณ ลอสแองเจลิส ระหว่าง พ.ศ. 2515-2517 ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ได้ทำงานวิจัย อย่างต่อเนื่องตลอดมา ตั้งแต่วัยศึกษาเล่าเรียน จนถึงปัจจุบัน ทั้งๆ ที่ ดำรงตำแหน่งต่างๆ ด้านสังคม และด้านบริหาร อาทิ เป็นผุ้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ เคยเป็นนายก สภาสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นบรรณาธิการวารสาร ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบันเช่นกัน นอกจากนี้ ยังเป็นกรรมการ และที่ปรึกษา ของคณะกรรมการ และองค์การระดับนานาชาติ เช่น ยูเนสโก องค์การอนามัยโลก รวมทั้งเป็นที่ปรึกษา ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ในปัจจุบันด้วย โดยที่ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้มีผลงานวิชาการอย่างดีเด่น ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2526 เมื่อมีอายุเพียง 39 ปี
ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นอาจารย์ชั้นนำ เป็นนักวิจัย และเป็นผู้นำกลุ่มวิจัย ที่ได้พบว่า เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ที่เยื่อหุ้ม เช่น การเปลี่ยนแปลงของ การลำเลียงคัลเซียมไอออนส์ผ่านเยื่อ การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกลของเยื่อ รวมทั้งความสามารถในการหลอม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ส่งผลสะท้อนต่อการอยู่รอด และการขยายปริมาณของเชื้อ ดังนั้น การศึกษาดังกล่าว จึงช่วยให้สามารถอธิบาย พยาธิสภาพบางประการ ของโรคมาลาเรียได้ และทำให้เข้าใจกลไกของการทำงาน ของยาต้านมาลาเรียบางตัวได้

2.ผลงาน
ผลงานด้านการวิจัย และความสามารถส่วนตัวเชิงการบริหาร และเชิงผู้นำกลุ่ม ของ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้ทำให้องค์การอนามัยโลก ได้สนับสนุนกลุ่มวิจัยนี้ ในด้านการวิจัย และฝึกอบรมเกี่ยวกับโรคเมืองร้อนที่สำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521-2526 และจากมูลนิธิรอกกีเฟลเลอร์ ในด้านการวิจัยทำนองเดียวกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นนักวิจัย เป็นผู้นำกลุ่มวิจัย เป็นครู เป็นนักบริหารที่สามารถ และเป็นที่ปรึกษาขององค์การสำคัญๆ ทางวิทยาศาสตร์ หลายองค์การ ได้ทำงานอุทิศตนเพื่อการวิจัย และงานด้านวิทยาศาสตร์อย่างทุ่มเท ทั้งในระดับลงมือทำการวิจัยเอง ร่วมทำการวิจัยกับผู้อื่น ควบคุมการวิจัยของศิษย์ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นผู้มีความคิดอ่านเฉียบแหลม มองการณ์ไกล มีหลักการมีเหตุมีผล จึงได้รับความไว้วางใจ ในการทำงานในระดับชาติ ในการร่างนโยบาย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของประเทศไทย ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ทั้งๆ ที่มีงานจนล้นมือ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ก็เป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุม มีอัธยาศัยน่านิยม พร้อมเสมอที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ศิษย์ แก่เพื่อน แก่ทุกคนที่ช่วยผลักดันงานวิทยาศาสตร์ โดยเหตุที่ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณวุฒิ และคุณธรรมดังกล่าว คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ ยกย่องให้ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาชีวเคมี ประจำปี พ.ศ. 2527

 3.เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
เป็นผู้มีความคิดอ่านเฉียบแหลม มองการณ์ไกล มีหลักการมีเหตุมีผล เป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากคนรอบข้าง และก็เป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุม มีอัธยาศัยดีและพร้อมเสมอที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ศิษย์ แก่เพื่อน แก่ทุกคนที่ช่วยผลักดันงานวิทยาศาสตร์

ที่มา   http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/award/award27.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น