วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3


1.ประวัติส่วนตัว

                ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อายุ 40 ปี เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 4 คน ของ พ.อ. สรรค์ และนางระเบียบ ยุทธวงศ์ ได้รับทุน ก.พ. ไปศึกษาใน สหราชอาณาจักร ระหว่าง พ.ศ. 2505-2512 สำเร็จการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม อันดับหนึ่ง สาขาวิชาเคมี จากมหาวิทยาลัยลอนดอน เมื่อ พ.ศ. 2509 ได้รับปริญญาเอก วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ทางอินทรียเคมี จากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เมื่อ พ.ศ. 2512 แล้วกลับมารับราชการ เป็นอาจารย์เอก ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนสาธารณสุข สหรัฐอเมริกา ไปทำวิจัยหลังปริญญาเอก ด้านพลังงานชีวภาพ และเยื่อเซลล์ ณ มหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย ณ ลอสแองเจลิส ระหว่าง พ.ศ. 2515-2517 ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ได้ทำงานวิจัย อย่างต่อเนื่องตลอดมา ตั้งแต่วัยศึกษาเล่าเรียน จนถึงปัจจุบัน ทั้งๆ ที่ ดำรงตำแหน่งต่างๆ ด้านสังคม และด้านบริหาร อาทิ เป็นผุ้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ เคยเป็นนายก สภาสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นบรรณาธิการวารสาร ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบันเช่นกัน นอกจากนี้ ยังเป็นกรรมการ และที่ปรึกษา ของคณะกรรมการ และองค์การระดับนานาชาติ เช่น ยูเนสโก องค์การอนามัยโลก รวมทั้งเป็นที่ปรึกษา ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ในปัจจุบันด้วย โดยที่ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้มีผลงานวิชาการอย่างดีเด่น ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2526 เมื่อมีอายุเพียง 39 ปี
ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นอาจารย์ชั้นนำ เป็นนักวิจัย และเป็นผู้นำกลุ่มวิจัย ที่ได้พบว่า เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ที่เยื่อหุ้ม เช่น การเปลี่ยนแปลงของ การลำเลียงคัลเซียมไอออนส์ผ่านเยื่อ การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกลของเยื่อ รวมทั้งความสามารถในการหลอม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ส่งผลสะท้อนต่อการอยู่รอด และการขยายปริมาณของเชื้อ ดังนั้น การศึกษาดังกล่าว จึงช่วยให้สามารถอธิบาย พยาธิสภาพบางประการ ของโรคมาลาเรียได้ และทำให้เข้าใจกลไกของการทำงาน ของยาต้านมาลาเรียบางตัวได้

2.ผลงาน
ผลงานด้านการวิจัย และความสามารถส่วนตัวเชิงการบริหาร และเชิงผู้นำกลุ่ม ของ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้ทำให้องค์การอนามัยโลก ได้สนับสนุนกลุ่มวิจัยนี้ ในด้านการวิจัย และฝึกอบรมเกี่ยวกับโรคเมืองร้อนที่สำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521-2526 และจากมูลนิธิรอกกีเฟลเลอร์ ในด้านการวิจัยทำนองเดียวกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นนักวิจัย เป็นผู้นำกลุ่มวิจัย เป็นครู เป็นนักบริหารที่สามารถ และเป็นที่ปรึกษาขององค์การสำคัญๆ ทางวิทยาศาสตร์ หลายองค์การ ได้ทำงานอุทิศตนเพื่อการวิจัย และงานด้านวิทยาศาสตร์อย่างทุ่มเท ทั้งในระดับลงมือทำการวิจัยเอง ร่วมทำการวิจัยกับผู้อื่น ควบคุมการวิจัยของศิษย์ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นผู้มีความคิดอ่านเฉียบแหลม มองการณ์ไกล มีหลักการมีเหตุมีผล จึงได้รับความไว้วางใจ ในการทำงานในระดับชาติ ในการร่างนโยบาย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของประเทศไทย ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ทั้งๆ ที่มีงานจนล้นมือ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ก็เป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุม มีอัธยาศัยน่านิยม พร้อมเสมอที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ศิษย์ แก่เพื่อน แก่ทุกคนที่ช่วยผลักดันงานวิทยาศาสตร์ โดยเหตุที่ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณวุฒิ และคุณธรรมดังกล่าว คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ ยกย่องให้ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาชีวเคมี ประจำปี พ.ศ. 2527

 3.เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
เป็นผู้มีความคิดอ่านเฉียบแหลม มองการณ์ไกล มีหลักการมีเหตุมีผล เป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากคนรอบข้าง และก็เป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุม มีอัธยาศัยดีและพร้อมเสมอที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ศิษย์ แก่เพื่อน แก่ทุกคนที่ช่วยผลักดันงานวิทยาศาสตร์

ที่มา   http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/award/award27.htm

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2

ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
                           ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎี
การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
              1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของ
เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ                                                        1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
 1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
  1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
        เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
                             2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
                              3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
   2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี
ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor
จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
                    2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
                    2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
                    2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
                    2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
                    2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
                    2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
                    2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)          3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
                    3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
                    3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
                    3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
                    3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
                    3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
              จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
    ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎี
มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ
การแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
              1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
              2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
              3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่าการเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
         การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น(Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
                    1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
                    2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
                    3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก
          ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิดมนุษยสัมพันธ์”*
    ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
        1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
        2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
        4.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,
Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
              ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
       5 .อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ 5ของบุคคลในองค์การ
สรุปเพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
                    1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
                    2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                    3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
                    4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ที่มา http://www.kru-itth.com

กิจกรรมที่1

         
          
            การบริหารการศึกษา ปัจจุบันนี้เราต่างตระหนักดีว่าการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติ ยิ่งประเทศมีผู้ได้รับการศึกษาในระดับสูงโดยเฉพาะทางด้านที่เป็นที่ต้องการมากเท่าใด ประเทศก็จะมีศักยภาพในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นมากขึ้นเท่านั้น ผลงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนก็จะมีคุณภาพมากขึ้น เพราะผู้ปฏิบัติมีความรู้และความสามารถเป็นอย่างดี เมื่อประชาชนมีความรู้มากขึ้น มีความเข้าใจในความถูกผิดชั่วดีมากขึ้น การกระทำผิดกฎหมายและจริยธรรมก็อาจจะลดลง และทำให้ประเทศมีความระดับความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นสูงขึ้นตามไปด้วย
การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน  การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัยในชั้นเรียน  ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู  และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน  เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัวเอง



ชื่อนางสาว สุภาพร  ราชรงค์
ชือเล่น สาว
การศึกษาจบ ป.6 -ม.3 จากร.ร บ้านโรงเหล็ก ม.6 จากร.ร นบพิตำวิทยา
คติประจำใจ  ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
กำลังศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
คณะ ครุศาสตร์ โปรแกรม สังคมศึกษา ชั้นปีที่ 3